TQC
: TOTAL QUALITY CONTROL : การควบคุมคุณภาพเชิงรวม
TQC คือ กิจกรรมที่พนักงานทุกคน ทุกระดับ
และทุกหน่วยงานทำ หรือ ร่วมกันทำเป็นประจำ เพื่อปรับปรุงงานอย่างสม่ำเสมอ
และต่อเนื่อง โดยทำอย่างมี ระบบ ทำอย่างเชิงวิชาการ อิงข้อมูล และมี หลักการที่สมเหตุ สมผล
เพื่อจุดมุ่งหมายที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจในคุณภาพ สินค้าและบริการ
T= TOTAL หมายถึง
ทุกคน ทุกระดับ ทุกหน่วยงาน และทุกวัน
Q=QUALITY หมายถึง คุณภาพสินค้า คุณภาพบริการ
และคุณภาพของงานประจำมีองค์ประกอบ 5อย่างคือ
1. คุณภาพ (Quality = Q) หมายถึง คุณภาพของสินค้าและบริการ และคุณภาพของงานระหว่างทำ
2. ต้นทุน (Cost = C) หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการผลิต การให้บริการ
และการทำงาน
3. การส่งมอบ (Delivery = D) หมายถึง การส่งมอบสินค้า และบริการในจำนวนที่ถูกต้อง
ในสถานที่ถูกต้องและตรงตามเวลา
4. ความปลอดภัย (Safety=S) หมายถึง ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ ลูกค้า
รวมถึงความปลอดภัยของพนักงาน
5. ขวัญและกำลังใจของพนักงาน (Morale = M) หมายถึง
การสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง
และปรับปรุงงานเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
องค์ประกอบของ TQC
Prof. Dr. Noriaki Kano ผู้เชี่ยวชาญด้าน TQC จาก Science University
of Tokyo กล่าวว่า TQC เปรียบเสมือนการสร้างบ้าน
ซึ่งมีองค์ประกอบ เช่น มีรากฐานที่มั่นคง มีพื้นที่แข็งแรง มีเสาบ้าน
และมีหลังคาบ้าน บ้าน TQC ของ Dr. Kano มีองค์ประกอบดังนี้
1. Intrinsic Technology
Intrinsic Technology คือ เทคโนโลยีเฉพาะด้าน
อุตสาหกรรมแต่ละอย่างย่อมมีเทคโนโลยีใน การผลิตที่แตกต่างกัน
และถือเป็นพื้นฐานสำคัญของอุตสาหกรรมนั้น ๆ การที่เราจะแข่งขันกับคู่แข่งขันได้
เงื่อนไขสำคัญข้อหนึ่งก็คือ Intrinsic Technology ของเราต้องทัดเทียมหรือเหนือกว่าคู่แข่งขัน
และสำหรับ ธุรกิจที่ต้องแข่งขันกันในระดับโลก เช่น ธุรกิจคอมพิวเตอร์ Intrinsic
Technology จะหมายรวมถึง ความ สามารถในการออกสินค้าใหม่ ๆ อีกด้วย
2. Motivation for Quality คือ แนวทางการผลักดันและจูงใจพนักงานเนื่องจาก
TQC เป็นการ เปลี่ยนแปลงแนวคิด พฤติกรรม
และวิธีการทำงานให้กับทุกคน ถือเป็น Cultural Change ซึ่งต้องใช้ความ
เพียรพยายามและความอดทนสูง และต้องใช้เวลามาก จึงเป็นงานที่ยาก (Tough) และต้องออกแรงจนเหงื่อตก (Sweat) ด้วยเหตุนี้
จึงต้องมีแนวทางในการผลักดันและจูงใจ เพื่อให้พนักงานมีใจสู้ (Total
Commitment) เปรียบเสมือนพื้นคอนกรีตที่แข็งแรงของบ้าน
แรงผลักดันที่ทำให้พนักงานทุกคนยอมเหน็ดเหนื่อยเพื่อคุณภาพที่ดีขึ้น
3. QC Concepts คือ
แนวคิดเพื่อให้พนักงานยึดถือเป็นแนวทางในการปรับปรุงงาน เปรียบเสมือน
เสาหลักที่หนึ่งของบ้าน บางแห่งเรียกว่า QC Thinking หรือ QC
Sense ซึ่งประกอบด้วยแนวคิดด้านคุณภาพ และแนวคิดทางด้านการจัดการ
4. QC Techniques คือเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ในการปรับปรุงงาน
เปรียบเสมือนเสาต้นที่ 2 ของบ้าน
ซึ่งประกอบด้วยเทคนิคต่างๆมากมายเช่น
-ผังพาเรโต(Pareto Chart)
-ผังแสดงเหตุผลหรือผังก้างปลา(Cause and Effect)
- แผ่นตรวจสอบ (Check Sheet)
- ฮีสโตแกรม (Histogram)
- แผนภูมิควบคุม (Control Chart)
- ผังการกระจาย (Scatter Diagram)
- กราฟ (Graph)
5. Promotional Vehicles
6. Quality Assurance
โดยวิธีการ TQC จะมีองค์ประกอบหลักสองส่วน
1. ต้องมีวัตถุประสงค์
โดยที่วัตถุประสงค์ของ TQC จะสร้างความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและบริการ
นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มวัตถุประสงค์ด้านการลดต้นทุน การเพิ่มยอดขาย เป็นต้น
2. ต้องมีวิธีการ การทำงานอยาง TQC ต้องมีวิธีการ ดังนี้
1. ทำอย่างมีหลักการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific)
2. ทำอย่างมีระบบ (Systematic)
3. ทำอย่างทั่วถึง (Total
Company-Wide) ทั้งองค์กร